ความเป็นมาของ Wireless LAN
ความต้องการใช้ระบบแลนไร้สายมีลักษณะเช่นเดียวกับระบบเซลลูลาร์โฟน หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ระบบแลนไร้สายต้องการเซลขนาดเล็ก และเป็นเซลเฉพาะกิจ เป็นเซลส่วนตัวที่เชื่อมกับเครือข่ายได้ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่พัฒนาเครือข่ายแลน แบบไร้สาย เพื่อให้รองรับความต้องการของผู้ใช้ กลุ่มผู้ใช้ที่มีความต้องการใช้แลนแบบ ไร้สายได้แก่ ร้านค้าปลีก ที่เก็บสินค้า โรงพยาบาล ธุรกิจขนส่ง มหาวิทยาลัย ตลอดจนองค์กรภาคธุรกิจต่างๆ ในปี ค.ศ. 1997 สถาบัน IEEE ได้กำหนดมาตรฐานแลนไร้สายแบบเดียวกับอีเทอร์เน็ต และเป็นชุดเดียวกับ 802 โดยให้ชื่อว่า IEEE 802.11 มาตรฐานที่เกิดขึ้นในปีนั้นยังมี ข้อจำกัดในทางเทคโนโลยี จึงกำหนดระบบการรับส่งสัญญาณด้วยขนาดความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ระบบแลนไร้สาย IEEE 802.11 จึงเป็นที่รู้จักกันตั้งแต่นั้นมา
 

ในปี ค.ศ. 1999 IEEE ได้พัฒนามาตรฐานใหม่ของแลนระบบไร้สายและให้ชื่อ มาตรฐานที่ IEEE 802.11b โดยมีการพัฒนาให้ใช้ความเร็วในการรับส่งได้ถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที และเป็นแบบฟูลดูเพล็กซ์คือ รับและส่งแยกกันด้วยความเร็ว 11 เมกะบิตต่อวินาที จากมาตรฐาน 802.11b ที่ประกาศออกไป ทำให้มีผู้ผลิตแลน ไร้สายออกมามาก โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่ายขนาดใหญ่ทุกบริษัทให้ ความสนใจและเร่งการพัฒนาปรับปรุงกันต่อไป การพัฒนาแลนไร้สาย มิได้หยุดอยู่ เพียงแค่การทำให้เชื่อมต่อถึงกันได้เท่านั้น ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยของ สัญญาณข้อมูลที่แพร่กระจายในอากาศ มีการวางมาตรฐานทางด้านเอ็นคริปชั่น และการสร้างระบบดูแลรักษาความปลอดภัยการเข้าถึง มีการพัฒนาระบบการ เคลื่อนย้ายเข้าสู่เครือข่ายหนึ่งไปอีกเครือข่ายหนึ่ง หรือที่เรียกว่า โรมมิ่ง ( Roaming) มีการแบ่งโหลดระหว่างเซล โดยการตรวจสอบความแรงของสัญญาณเพื่อให้ขนาด ของพื้นที่ทับซ้อนกันได้

 

Wireless LAN คืออะไร

Mobile เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โทรศัพท์เคลื่อนที่เริ่มเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันเพราะช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร เช่น ในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับสามารถใช้โทรศัพท์มือถือโทรขอความช่วยเหลือได้ทันท่วงที นอกจากโทรศัพท์มือถือแล้วอุปกรณ์ Personal Information Management (PIM) เช่น เครื่อง Personal Digital Assistant (PDA) เริ่มมีผู้สนใจและใช้งานมากขึ้น เช่นใช้ในการรับส่ง E-mail การจัดตารางนัดหมาย หรือ การเก็บข้อมูลการเงินส่วนตัว ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook มีขนาดที่เล็กลง แต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น เช่น เครื่อง Tablet PC ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์การติดต่อสื่อสารชนิด Wireless กับระบบเครื่อข่ายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง โดยผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม

 
แสดงรูป Tablet PC ซึ่งมีความสามารถเหมือน Notebook แต่มีน้ำหนักเบาและพกพาได้สะดวกกว่า
 

เมื่อกล่าวถึงคำว่า Mobile แล้ว นิยมใช้กับคำว่า Wireless แต่ทั้งสองคำมีความแตกต่างกันคือ

- Mobile หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนย้าย
- Mobile Device หมายถึง อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพาได้ เช่นโทรศัพท์มือถือ เครื่อง PDA และ Notebook
- Wireless เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งภาพ เสียง และข้อมูล จากอีกที่หนึ่งไปอีกทึ่หนึ่ง โดยไม่มีใช้สายไฟ แต่ใช้คลื่นวิทยุหรืออาจใช้คลื่น Infrared
เป็นตัวกลางในการสื่อสาร
- LAN มาจากคำว่า  Local Area Network คือระบบเครือข่ายในระยะทางใกล้ๆ เช่น ภายในห้องทำงาน การเชื่อมต่อระหว่างห้องทำงาน ระหว่างชั้น หรือระหว่างตึก

ดังนั้น Wireless LAN หมายถึง การติดต่อสื่อสารในระยะทางใกล้ๆ โดยไม่ใช้ สายไฟและอุปกรณ์สื่อสารคือ Mobile Device หรือ Notebook

 

สำหรับ Wireless ที่ใช้สัญญาณวิทยุ อุปกรณ์ที่เป็นเครื่องรับข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้อย่างอิสระภายใต้รัศมีความแรงของการใช้คลื่นวิทยุ คือ การรับส่งข้อมูลมีความผิดพลาดสูง เพราะคลื่นวิทยุถูกรบกวนได้ง่ายจากสัญญาณภายนอก เช่น การเปิดเครื่องเตาอบ Microwave อาจทำให้สัญญาณ Microwave เข้าไปรบกวนระบบ Wireless ได้ ทำให้การรับส่งข้อมูลผิดพลาด ส่วน Wireless ชนิดที่ใช้สัญญาณ Infrared ในการใช้งาน อุปกรณ์เครื่องรับและเครื่องส่งต้องติดตั้งไว้ในจุดที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง เพราะ Infrared เป็นคลื่นแสง ไม่สามารถทะลุผ่านสิ่งของได้ การทำงานของ Wireless ชนิด Infrared คล้ายการใช้ Remote Control ในการเปลี่ยนช่องของโทรทัศน์ ข้อดีของการใช้คลื่น Infrared คือ ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณภาพนอกได้ดี

 

Wireless ชนิดที่ใช้สัญญาณวิทยุเหมาะสำหรับใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่าง Mobile Device กับระบบเครือข่ายหลัก เช่น การใช้เครื่อง PDA ท่อง Web Site ภายในที่ทำงาน ผู้ใช้งานสามารถเดินไปห้องต่าง ๆ ในที่ทำงานพร้อมทั้งเรียกดูข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา สำหรับ Wireless ชนิดที่ใช้ Infrared เหมาะสำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างเครือข่ายหลักที่ไม่สามารถเดินสายไฟได้ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างตึกซึ่งอยู่คนละฝั่งถนน

 

อุปกรณ์ Access Point ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลกับ Mobile Devices แบบไร้สาย Mobile Devices สามารถเคลื่อนที่ภายใน Wireless Network ได้ ดังรูป

อุปกรณ์ Access Point
 

ส่วนอุปกรณ์ในระบบ Wired Network หรือที่ใช้สายไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน แต่เมื่อใดที่ผู้ใช้งานไม่ได้อยู่ที่โต๊ะทำงาน และต้องการทำงานโดยไม่ขาดช่วง สามารถเปลี่ยนมาใช้ระบบ Wireless Network ได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook โดยทั่วไประบบที่ใช้ Wireless Network จำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบ Wired Network ก่อนเพราะต้องใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารกับระบบอินเตอร์เน็ต

 

ทำไมต้องแลนไร้สาย

เนื่องด้วยในปัจจุบันนี้เป็นยุคของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร , แบ่งปัน( share) ข้อมูล , ทรัพยากรร่วมกัน โดยเฉพาะองค์กรด้านธุรกิจต่างๆ เมื่อใช้ wireless lan ผู้ใช้สามารถ access ข้อมูล ได้โดยไม่ต้องมองหา plug ต่อสาย lan และผู้มีหน้า ที่ดูแล network สามารถติดตั้ง หรือขยายการใช้งานโดยปราศจากการติดตั้งสาย หรือเคลื่อนย้ายไปตามจุดต่างๆ wireless LAN ทำให้เกิดความสะดวก แก่ผู้ใช้ , ลดค่าใช้จ่ายเรื่องสายได้ โดยเฉพาะระบบการเชื่อมโยงแบบต้องใช้สาย ซึ่งมีแลนแบบอีเทอร์เน็ตเป็นฐานใหญ่ โดยเฉพาะการเชื่อมต่อด้วยสาย UTP ผ่าน HUB ทำให้เข้าสู่เครือข่ายด้วยความเร็วสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที   อีกด้านหนึ่งคือการเชื่อมด้วยสายโทรศัพท์โดยเฉพาะการใช้โมเด็ม และ ADSL ที่เปิดบริการกันมากอยู่ในขณะนี้

 

จุดเด่นของระบบแลนไร้สาย มีหลายประการ โดยเฉพาะในอดีตปัญหาทางเทคโนโลยีเป็นข้อจำกัด   เพราะไม่สามารถสร้างระบบ VLSI ( วงจรรวมขนาดใหญ่มาก) ที่ใช้งานย่านความถี่สูงมาก กินกำลังไฟฟ้าต่ำ มีขนาดเล็กและเบา   ปัจจุบันสามารถพัฒนาวงจร CMOS ซึ่งเป็นหัวใจของการผลิตชิพที่มีวงจรซับซ้อน ให้กินกำลังงานไฟฟ้าต่ำมาก และใช้กับความถี่สูงย่านไมโครเวปได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ระบบแลนไร้สายจึงตอบสนองความต้องการเด่น ๆ ต่อไปนี้ได้

 

ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย wireless lan ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ access ข้อมูลได้ทุกๆที่ ในองค์กร การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาะจงอยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมเลยไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การเดินทาง ไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยผู้ใช้ติดตั้งไปเฉพาะโน้ตบุคก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้ - การติดตั้ง เร็ว และง่าย ไม่ต้องยุ่งยากกับการลากสาย cable ผ่านกำแพงฯลฯ

 

ความยืดหยุ่นของการติดตั้ง เทคโนโลยี wireless allows the network to go where wire cannot go เครือข่ายแบบแลนไร้สาย ทำให้เครือข่ายองค์กรปรับขนาดและความเหมาะสม ได้ง่าย ไม่ยุ่งยากในเรื่องการเดินสายสื่อสาร ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสถานที่ การปรับปรุงสถานที่เพื่อเดินสายสัญญาณเป็นเรื่องไม่พึงปรารถนา เครือข่ายไร้สายสามารถครอบคลุมพื้นที่เป็นเซลเล็กๆ โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาคาร ได้ด้วยระบบแบบจุดไปจุด ทำให้ดำเนินการได้เร็วและสะดวกต่อการติดตั้ง

 

ลดต้นทุนขององค์กร ในระยะแรกของการลงทุนติดตั้ง wireless มี cost ค่อนข้างสูงกว่า wired LAN แต่ค่าใช้จ่ายโดยรวมแล้ว (รวมค่าติดตั้ง และค่าเช่าสาย) wireless จะต่ำกว่า อย่างเห็นได้ชัด ยิ่งถ้าคิดในระยะยาวแล้วต่ำกว่ามาก

 

Scalability wireless lan สามารถที่จะถูก config ได้หลาย topology เพื่อให้บรรลุตาม ความต้องการ การ config นั้นง่ายมากตั้งแต่แบบ peer to peer สำหรับผู้ใช้จำนวนไม่มาก ไปจนถึง เต็มที่ของ infrastructure ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก นอกจากนี้จุดเด่นของระบบแลนไร้สายยังอยู่ที่การมีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่ว หมายถึงสามารถใช้งานร่วมกันได้ และเป็นมาตรฐานกลางที่กำหนดโดย IEEE มีการวางรูปแบบให้รับส่งกันได้อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการรักษาความปลอดภัยของคลื่นสัญญาณที่อาจถูกดักฟังได้ กรณีนี้ก็มีวิธีการเข้ารหัส การสร้างระบบเอ็นคริป ข้อมูลการให้บริการการใช้งาน และการดูแลรักษาเครือข่ายทำได้ง่ายกว่าแบบใช้สายมาก ทั้งนี้เพราะระบบได้รับการออกแบบมาให้เป็นแบบอัตโนมัติ และตรวจสอบกันเองระบบแลนไร้สายจึงมีจุดเด่นที่ชัดเจน และจะมีบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายในอนาคตอันใกล้นี้

ระบบแลนไร้สายที่เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย
 

มาตรฐาน IEEE, อุปกรณ์

มาตรฐานเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีมากมายหลายมาตรฐานเช่น Bluetooth,IEEE 802.11,IrDA, HiperLAN, HomeRF ซึ่งออกแบบมาสำหรับการใช้งานแบบต่างๆ แต่มาตรฐานสำหรับเทคโนโลยีไร้สาย ที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางคือ IEEE 802.11 หรือนิยมเรียกว่า WiFi ( ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity)

 

เทคโนโลยีไร้สาย : IEEE 802.11b IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานล่าสุดสำหรับ Wireless LAN ที่ใช้ Protocol เหมือน Ethernet โดยต่อเติมมาจากมาตรฐาน 802.11 เดิมที่มีความเร็วแค่ 1,2 mbps เท่านั้น จึงไม่เป็นที่ยอมรับนัก ข้อดีของเทคโนโลยี 802.11b นี้นอกจากความเร็วที่สูงถึง 11 Mbps รับ-ส่งข้อมูลแบบ Full Duplex แล้วยังสามารถลดความเร็วลงโดยอัตโนมัติเป็น 1,2,5.5 Mbps เมื่ออยู่ไกลหรือมีคลื่นรบกวนมาก เครือข่ายที่ใช้มาตรฐาน IEEE 802.11b นั้นจะประกอบ ด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Access Point ที่ทำหน้าที่เป็น hub แบบไร้สาย ซึ่งจะสื่อสารกับ network interface card ในเครื่อง PC หรือ Notebook ในสภาพแวดล้อมของสถานที่ ทำงานทั่วไป ตัว Network card และ Access Point จะติดต่อกันได้ภายใน ระยะประมาณ 91 เมตร

 
อุปกรณ์ WLAN ตามมาตรฐาน IEEE 802.11 มีให้เลือกใช้ 3 ประเภทคือ
1. คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.4 GHz
   ( อัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุด 11 Mbps)
2. คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 5 GHz
   ( อัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุด 54 Mbps)
3. อินฟราเรด Infrared
  ( อัตราการรับส่งข้อมูล 1 และ 2 Mbps)

โดยมาตรฐาน IEEE 802.11 นั้น ยังมีมาตรฐานระบุรายละเอียดย่อยอีกโดยใช้ตัวอักษรต่อท้ายเช่น IEEE 802.11a, IEEE 802.11b, และ IEEE 802.11g ซึ่งจะมีลักษณะต่าง ๆ ดังตัวอย่างตามตาราง

 

 

802.11

802.11a

802.11g

อัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุด

11 Mbps

54 Mbps

54 Mbps

เทคโนโลยีการเข้ารหัส

CCK Complimentary Code Keying

OFDM Orthogonal Frequency Division Multiplexing

CCK & OFDM

ความถี่

2.4 GHz

5 GHz

2.4 GHz = 11 Mbps
5 GHz = 54 Mbps

 

รองรับการรักษาความปลอดภัยหลายระดับ

- ควบคุมการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย โดยการตั้งค่า NIC Card ของเครื่อง Client กับ Access Point ให้มีค่าตรงกันจึงจะสามารถ ติดต่อกันได้ ถือเป็นการกำหนดพื้นที่ให้บริการของ Wireless Lan (Wireless Lan Service Area: WLS) นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยในอีกระดับหนึ่ง คือการบันทึก MAC address ของแต่ละ NIC Card ที่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับ Access point นั้นๆ ได้ไว้ในตัว Access Point เองเพียงเท่านี้บุคคลภายนอกก็จะไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายได้

 

- การเข้ารหัสเพื่อป้องกันการดักสัญญาณระหว่าง NIC Card กับ Access Point สามารถรองรับการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อป้องกันการ ดักสัญญาณที่กระจายออกไปได้ โดยมีทั้งการเข้ารหัสสัญญาณแบบ 40 บิต และ 128 บิต แบบ Wired Equivalent Privacy (WEP) ซึ่งเป็นมาตรฐานโปรโตคอลความปลอดภัยสำหรับ อุปกรณ์ Wireless

 

อุปกรณ์สำหรับ Wireless Lan

1. Access Point ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่าง Ethernet ของ net work แบบมีสายกับเครื่อง client ที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย (อาจเรียกเป็น hub ไร้สาย)

- รับ-ส่ง ข้อมูลสำหรับผู้ใช้สูงสุด 60 เครื่องพร้อมๆกัน ภายในรัศมี 91 m หรือ 300 ฟุต
- ทำงานในย่านความถี่ 2.4 GHz ;bandwith 11 Mbps โดยแบ่งเป็น 11 ช่องสัญญาณ
- เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย Ethernet และต่อไฟเข้า Access Point โดยตรง

2. Wireless LAN card

 

การตอบสนองความต้องการต่อผู้ใช้

การนำติดตัว (Mobility) การเคลื่อนย้ายของผู้ใช้อาจไม่เฉพาะเจาจบอยู่ในที่ทำงานอย่างเดียว อาจครอบคลุมเลยไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ โดยผู้ใช้ติดตั้งไปเฉพาะโน้ตบุคก็สามารถเข้าถึงเครือข่ายได้

การขยายเครือข่ายเป็นไปได้ง่าย เครือข่ายแบบแลนไร้สายทำให้เครือข่ายองค์กรปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยากในเรื่องการเดินสายสื่อสาร ซึ่งมีปัญหาในเรื่องสถานที่ การปรับปรุงสถานที่เพื่อเดินสายสัญญาณเป็นเรื่องที่ไม่ถึงปรารถนาเครือข่ายไร้สายสามารถครอบคลุมพื้นที่เป็นเซลเล็กๆ โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างอาคารได้ด้วยระบบแบบจุดไปจุดทำให้ดำเนินการได้เร็วและสะดวกต่อการติดตั้ง

การเชื่อมโยงระหว่างอาคารด้วยระบบไร้สาย
 

ให้ผลคุ้มค่าการออกแบบสร้างเครือข่ายแลนแบบไร้สายเริ่มให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนคุ้มค่ามากขึ้นทั้งนี้เพราะอุปกรณ์เชื่อมโยงระบบแลนไร้สายมีแนวโน้มที่ถูกลง จึงสามารถชดเชยกับสิ่งที่เรียกว่าการลงทุนการเดินสายสัญญาณและความคล่องตัวในการออกแบบ ปัจจุบันมูลค่าของการ์ดแลนมีราคาขายในท้องตลาดทั่วไปประมาณ 200 เหรียญสหรัฐ แนวโน้มนี้ยังคงมีราคาลดลงอีก สำหรับอุปกรณ์ที่เป็น Accesspoint ก็มีแนวโน้มที่ลดลงเช่นกัน ระบบแลนไร้สายแบบจุดไปจุดสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยระยะทางไกลถึง 25 ไมล์ ซึ่งทำให้ประหยัดในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ลงไปได้มาก

นอกจากนี้ จุดเด่นของระบบแลนไร้สายยังอยู่ที่การมีมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่ว หมายถึง สามารถใช้งานร่วมกันได้ และเป็นมาตรฐานกลางที่กำหนดโดย IEEE มีการวางรูปแบบให้รับส่งกันได้อย่างดี โดยเฉพาะเรื่องการรักษาความปลอดภัยของคลื่นสัญญาณที่อาจถูกดักฟังได้ กรณีนี้ก็มีวิธีการเข้ารหัส การสร้างระบบเอ็นคริปข้อมูล การให้บริการการใช้งาน และการดูแลรักษาเครือข่ายทำได้ง่ายกว่าแบบใช้สายมาก ทั้งนี้เพราะระบบได้รับการออกแบบมาให้เป็นแบบอัตโนมัติ และตรวจสอบกันเอง ระบบแลนไร้สายจึงมีจุดเด่นทีชัดเจน และจะมีบทบาทที่สำคัญของเครือข่ายในอนาคตอันใกล้นี้

 

ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อเริ่มใช้ WLAN

-Fast Decision-Making เมื่อพนักงานหรือผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพขึ้น

-Sale-Force Efficiency พนักงานขายสามารถเข้าถึงข้อมูลของสินค้าต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตามในบริษัท ทำให้ลูกที่มาติดต่อเกิดความพอใจในการบริการ

- Better Accuracy การติดต่อสื่อสารอย่างทันท่วงทีกับทีมงานโดยผ่าย Mobile Device ทำให้ Manager สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
- Higher Employee Satisfaction พนักงานเกิดความพอใจในการทำงานมากขึ้น เพราะสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ในระบบอินเตอร์เน็ต รับส่ง Email หรือติดต่อสื่อสารกับเพื่อนรวมงานได้ตลอดเวลาทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะทุกที่ในบริษัทสามารถเป็นห้องทำงานได้ตลอดเวลา
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเครือข่ายในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ Wireless Network น้อยกว่าระบบ Wired Network ซึ่งในระบบ Wired Network ต้องเดินสายไฟไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ส่วนในระบบ Wireless Network มีการเดินสายไฟเฉพาะจุดที่เป็น Access Point เท่านั้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการเดินสายไฟน้อยกว่า

ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบ เพราะอุปกรณ์ Wireless ไม่ต้องใช้สาย จึงทำให้ลดความซับซ้อนในการดูแลระบบเพราะการเพิ่มหรือลดอุปกรณ์สามารถทำได้ทันที

 
ข้อคำนึงในการเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ใช้งานในระบบเครือข่ายไร้สาย

1. การเลือกมาตรฐานให้เหมาะสมสำหรับการใช้งานโดยในปัจจุบันมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากคือมาตรฐาน IEEE802.11g ซึ่งรองรับอัตราความเร็วสูงสุดในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที ( Mbps) โดยเป็นความเร็วที่เพียงพอสำหรับการใช้งานโดยทั่วๆ ไปในปัจจุบันได้อย่างดีแล้วนอกจากนั้นยังสนับสนุนการทำงานร่วมกันกับมาตรฐานเดิมอย่าง IEEE802.11b ได้ แต่ในขณะนี้ผู้ผลิตหลายๆ รายต่างแข่งขันกันผลิตผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนเทคโนโลยี MIMO ออกมามากขึ้น โดยเทคโนโลยี MIMO นี้เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เทคนิคการใช้ตัวส่งตัวรับสัญญาณหลายตัวซึ่งทำให้การถ่ายโอนข้อมูลสามารถทำได้เร็วขึ้นด้วยการใช้ประโยชน์จาก Multipath ข้อมูลหลายชุดจึงถูกส่งและรับได้ในเวลาเดียวกันจึงเป็นที่คาดหมายกันว่าในอนาคตเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพการใช้งานที่มากกว่า ให้แบนด์วิดท์สูงและมีรัศมีการทำงานที่ดีกว่านั้นจะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.1g เดิม แต่อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ที่จะใช้งานคุณสมบัติเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่จะต้องเป็นอุปกรณ์จากชุดเดียวกันซึ่งปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้ยังคงมีราคาแพงอยู่มาก ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์สำหรับมาตรฐาน IEEE802.11g จึงยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้

4081

2. การเลือกระบบอินเตอร์เฟซที่เหมาะสม สำหรับการ์ดอีเทอร์เน็ตไร้สายในปัจจุบันนั้นมีหลายชนิดให้เลือกใช้เช่นเดียวกัน ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กก็มีการผนวกรวมคุณสมบัติแบบไร้สายมาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว หากเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กไม่มีคุณสมบัติที่ใช้งานกับระบบเครือข่ายไร้สายในตัวเครื่องก็สามารถใช้ Wireless PCMCIA Card ติดตั้งเข้าไปในตัวเครื่องหรือถ้าต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีร่วมกับระบบเครือข่ายไร้สายก็ควรเลือกใช้การ์ดแบบ USB Adapter ซึ่งราคาอาจจะค่อนข้างสูงแต่สามารถใช้งานได้ความคุ้มค่าและหลากหลายกว่า สำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพีซีกับระบบเครือข่ายไร้สายเพียงอย่างเดียวก็ใช้อินเทอร์เฟซแบบ PCI Card ได้ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสายสัญญาณและเสาอากาศที่ตั้งบนที่สูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารได้

3. การเลือกผลิตภัณฑ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน ( Access Point / Wireless Router) เพราะนอกจากอุปกรณ์เหล่านี้จะสนับสนุนการทำงานในแบบ Ad-Hoc หรือ Peer-to-Peer แล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังสามารถใช้ Access Point เป็นจุดเชื่อมต่อสัญญาณกับเครือข่ายใช้สายเพื่อการแชร์การใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการได้มากกว่าแบบ Insfrastructure โดยถ้ายังไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตหรือติดตั้งระบบเครือข่ายมาก่อนก็ควรจะเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง Wireless Router ที่มีคุณสมบัติในแบบ All-in-One เพราะสามารถเป็นทั้ง Router Switch และ Access Point ในเครื่องเดียวซึ่งจะให้ความคุ้มค่ามากกว่าหรือหากมีการใช้งานเครือข่ายใช้สายและไร้สายอยู่ก่อนแต่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้งาน ดังนั้นควรเลือกใช้ Access Point ที่สนับสนุนโหมดการทำงานแบบ Bridge และ Repeater ร่วมด้วย

 

4. การใช้งานระบบรักษาความปลอดภัย สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นพิเศษในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่ายไร้สายคือต้องให้ความสนใจในการเข้ารหัสข้อมูลเพราะการสื่อสารไร้สายนั้นเป็นการติดต่อสื่อสารด้วยการใช้คลื่นวิทยุที่แพร่ไปตามบรรยากาศ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการดักจับสัญญาณจากผู้ไม่ประสงค์ดี ดังนั้นการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไร้สายจึงต้องคำนึงถึงฟังก์ชันการเข้ารหัสที่ใช้ ซึ่งเทคนิคที่ใช้งานโดยทั่วๆ ไปสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน Wired Equivalent Privacy หรือ WEP ขนาด 64/128-bit ร่วมกับ MAC Address Filtering นั้นก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับการใช้งานภายในองค์กรนั้นควรใช้เทคนิคการตรวจสอบและกำหนดสิทธิ์การใช้งานที่สูงกว่าโดยเลือกใช้ WPA (Wi-Fi Protected Privacy) ซึ่งใช้คีย์การเข้ารหัสที่น่าเชื่อถือร่วมกับเทคนิคการตรวจสอบและการกำหนดสิทธิ์ในแบบ 2 ฝั่งหรืออาจจะใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแบบอื่นๆ เช่น RADIUS ร่วมด้วยก็ได้

 

5. สำหรับเสาอากาศของการ์ดไร้สายนั้นถ้าเป็นการ์ดแบบ PCMCIA และแบบ USB จะเป็นเสาอากาศ Built-in มาพร้อมตัวการ์ด ส่วนการ์ดแบบ PCI นั้นจะเป็นเสาอากาศแบบ Reverse-SMA Connector ซึ่งสามารถถอดออกได้โดยทั่วไปจะเป็นทั้งแบบเสาเดี่ยวที่หมุนเข้ากับตัวการ์ดและอีกแบบคือมีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติดกับผนังได้ สำหรับการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อเสาอากาศที่มีสายนำสัญญาณต่อเชื่อมกับเสาที่ตั้งบนพื้นหรือยึดติดกับผนังเนื่องจากให้ความยืดหยุ่นในการติดตั้งมากกว่าเพราะสามารถติดตั้งบนที่สูงๆ ได้ ส่วนอุปกรณ์เชื่อมโยงสัญญาณระหว่างกัน อาทิ Access Point หรือ Wireless Router นั้นจะมีเสานำสัญญาณทั้งในแบบเสาเดี่ยวและ 2 เสาซึ่งการเลือกซื้อนั้นควรเลือกซื้อแบบ 2 เสา เนื่องจากให้ประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณที่ดีกว่าโดยลักษณะของเสานั้นจะมีทั้งในแบบที่ยึดติดกับเข้ากับตัวอุปกรณ์ซึ่งส่วนใหญ่จะพบเห็นในรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานตามบ้านและอีกแบบเป็นเสาที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ซึ่งหัวเชื่อมต่อนั้นจะเป็นทั้งแบบ Reverse-SMA Conector SMA Conector และแบบ T-Connector ซึ่งถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเสาอากาศควรจะเลือกซื้อจากทางผู้ผลิตรายเดียวกันเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ซื้อหัวเชื่อมต่อผิดประเภท สำหรับชนิดของเสาอากาศที่มีจำหน่ายจะมี 2 ชนิดหลักก็คือ แบบ Omni-Direction Antenna ซึ่งเป็นเสาที่ทุกผู้ผลิตให้มากับตัวผลิตภัณฑ์แล้วโดยคุณสมบัติของเสาประเภทนี้คือ การรับและส่งสัญญาณในแบบรอบทิศทางในลักษณะเป็นวงกลมทำให้การกระจายสัญญาณนั้นมีรัศมีโดยรอบครอบคลุมพื้นที่ หากต้องการใช้งานที่มีลักษณะรับส่งสัญญาณเป็นเส้นตรงเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรับส่งและระยะทางตามต้องการก็ควรใช้เสาแบบ Direction Antenna ซึ่งนิยมใช้งานกับผลิตภัณฑ์ประเภท Wireless Bridge สำหรับการสื่อสารในแบบ Point-to-Point ส่วนการเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกใช้เสาอากาศ High Gain ที่มีการขยายสัญญาณสูงกว่าเสาอากาศที่ทางผู้ผลิตให้มากับตัวอุปกรณ์โดยมีให้เลือกใช้หลายแบบทั้งในแบบที่มีค่า Gain 5 Gain 8 Gain 12 Gain 14 หรือ Gain ที่สูงกว่าได้

 

6. กำลังส่งที่ปรับได้ สำหรับการใช้งานผลิตภัณฑ์ไร้สายนั้นการปรับกำลังส่งสัญญาณได้เป็นคุณสมบัติหนึ่งของผลิตภัณฑ์โดยกำลังส่งสูงสุดจะไม่เกิน 100mW หรือ 20dBm ผู้ผลิตบางรายจะมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนกำลังสูงสุดนี้ ซึ่งค่ากำลังส่งที่มากก็แสดงว่าสามารถที่จะแพร่สัญญาณไปในระยะทางที่ไกลหรือให้รัศมีที่มากขึ้น แต่ก็สามารถปรับกำลังส่งให้ลดต่ำลงเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานภายในองค์กรที่จะต้องใช้กำลังส่งให้เหมาะสมกับพื้นที่เนื่องจากกำลังส่งสูงๆ อาจจะไปรบกวนสำนักงานข้างเคียงและอาจถูกลักลอบใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายก็เป็นได้

 

7. ความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ไร้สายเพราะการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดนั้นขึ้นอยู่กับความเข้ากันได้ของผลิตภัณฑ์ไร้สายด้วย หากผลิตภัณฑ์ไร้สายของผู้ผลิตแต่ละรายไม่สามารถทำงานเข้ากันได้กับผู้ผลิตรายอื่นก็จะทำให้การใช้งานเครือข่ายไร้สายด้อยประสิทธิภาพลงไป ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายได้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าที่สุดควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจากผู้ผลิตรายเดียวกัน ซีรีส์เดียวกันหรือถ้าเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างผู้ผลิตก็ควรตรวจสอบแน่ใจว่าเลือกใช้ชิปเซ็ตซึ่งสนับสนุนเทคโนโลยีเดียวกันและก่อนการเลือกซื้อควรตรวจสอบความเข้ากันได้ของผู้ผลิตแต่ละรายโดยสังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ที่ผ่านการรับรองจาก Wi-Fi ก่อน

 
4082
.................................................................................................................................................................................................................................................................

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล ดังต่อไปนี้
http://www.phrae.mju.ac.th/ITS/wireless.asp
•  ความหมายของ Wireless LAN
•  Wireless LAN คืออะไร
•  ทำไมต้องแลนไร้สาย
•  มาตรฐาน IEEE, อุปกรณ์
•  การตอบสนองความต้องการต่อผู้ใช้
•  ประโยชน์ของ Wireless LAN

http://www.vcharkarn.com/varticle/ 16257/1
•  ข้อคำนึงในการเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ใช้งานในระบบเครือข่ายไร้สาย